“ไม้ขีดไฟ”ที่เราใช้กันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย จนมาถึงยุคปัจจุบัน ก็ยังมีอยู่ให้เห็นและไม่มีทีท่าว่าจะเสื่อมหายไปตามกาลเวลาอย่าง เช่น ม้วนเทปวีดีโอ,เทปเพลง หรือแผ่นซีดี แม้ว่าจะมีไฟแช็คเข้ามาแทนที่แล้วก็ตาม แต่พอมานั่งคิดๆ ดู ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ขั้นตอน วิธีการผลิตไม้ขีดไฟ เขาทำกันยังไงนะ และใช้เครื่องจักรหน้าตาแบบไหนกัน วันนี้เลยได้โอกาสนำคลิป ขั้นตอน วิธีการผลิตไม้ขีดไฟ จากแชนแนล Science Channel มาฝากกัน
โดยหัวไม้ขีดไฟนั้นจะถูกห่อหุ้มด้วย โปตัสเซียมคลอเรต และตัวกล่องไม้ขีดไฟก็จะถูกฉาบด้วยฟอสฟอรัสแดง ทันทีที่ โปตัสเซียมคลอเรต ตกกระทบเสียดสีกับ ฟอสฟอรัสแดง ก็จะเกิดปฎิกิริยาความร้อนจนทำให้ดไฟติดได้ ส่วนก้านไม้ขีดไฟมักนิยมทำจาก ไม้มะยมป่า ,ไม้มะกอก,ไม้อ้อยช้าง และไม้ปออกแตก
ก่อนที่จะจุ่มหัวไม้ขีดไฟจะต้องเอาปลายไม้ขีดที่จะตัดหัวนั้นไปจุ่มขี้ผึ้งพาราฟินซะก่อน เพราถ้าหากเนื้อไม้แข็งเกินไปก็จะไม่ดูดซึมพาราฟิน โดยพาราฟินนี้จะเป็นตัวส่งผ่านจากหัวไม้ขีดไปสู่ก้านไม้ขีด เพราะถ้าไม่มีพาราฟินพอไม้ขีดติดไฟปุ๊ปก็จะตัดในทันที และถ้าหากเนื้อไม้อ่อนจนเกินไปไม้ขีดก็จะไม่สามารถคงรูปเป็นก้านตรงได้
เสร็จแล้วก็ออกมาหน้าตาพร้อมใช้อย่างที่เราเคยเห็นกัน
นำมาบรรุลงกล่องเป็นอันเรียบร้อย
แค่เห็นข้างหน้ากล่องทุกคนก็พอจะรู้อายุกันแล้วนะครับ ว่า ผ่านมา 80 ปี แล้ว ไม้ขีด ก็ยังคงใช้กันมาจวบจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะ”ตราพระยานาค” ที่ชินตากัน 1 กล่องจะบรรจุไม้ขีดไว้ จำนวน 180 ก้าน
#วิธีการผลิตไม้ขีดไฟ
Credit Video: https://www.youtube.com/watch?v=Lm50mtea3ZM